วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ตลาดดอกไม้ปากคลองตลาด เก่าที่สุดและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ปากคลองตลาด ตลาดดอกไม้สด
ปากคลองตลาด ตลาดเก่าแก่ของกรุงเทพฯ จากประวัติในสมัย
อยุธยา บริเวณปากคลองตลาดมีคูคลอง และแม่น้ำหลายสายมาบรรจบกัน คล้ายปากแม่น้ำ ดั้งนั้นชื่อ ปากคลองตลาด อาจมาจากการนำลักษณะภูมิประเทศมาตั้งก็ได้ค่ะ ในสมัยนั้นนิยมสัญจร และ ขนส่งสินค้ากันทางน้ำเป็นหลัก ปากคลองตลาด จึงเป็นจุดนัดพบของผู้คน และค้าขายสินค้ากันในสมัยสมัยอยุธยา ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้สถาปนากรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวง ทำให้มีการขุดคูคลองเพิ่มขึ้นหลายสาย รวมถึงขุดคลองเพิ่มในบริเวณปากคลองตลาดด้วย การค้าขายบริเวณปากคลองตลาด ถือว่าเจริญที่สุด โดยสินค้าหลักของตลาด ได้แก่ ของสด โดยเฉพาะปลาสด ถือได้ว่าเป็นแหล่งรวมปลาสดที่ใหญ่ที่สุดในช่วงนั้น จนถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีการเปลี่ยนจากการสัญจรทางน้ำเป็นทางบกเพิ่มมากขึ้น มีตลาดสด เกิดขึ้นใหม่หลายตลาด ทำให้ปากคลองตลาดที่เคยขายของสด และเป็นตลาดปลาที่ใหญ่ที่สุด แปรสภาพเป็น ตลาดขายสินค้าเกษตรแทน เช่น ผัก ผลไม้ และ ดอกไม้สด จนมาถึงปัจจุบัน
ปากคลองตลาด เป็นตลาดที่ไม่เคยหลับ โดยช่วงดึกจนใกล้เช้าจะมีแม่ค้า-พ่อค้า ลงดอกไม้สดกันเพื่อขายส่ง ช่วงเช้าถึงสายก็จะทยอยตั้งร้านขายปลีกดอกไม้สดกัน ภายในตลาดมีทั้งดอกไม้ภายในประเทศ และนำเข้ามาจากต่างประเทศ ถือว่าเป็นจุดรวมดอกไม้สด ที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ ก็ว่าได้ ตัวอย่างดอกไม้ เช่น กุหลาบ กล้วยไม้ ดาวเรือง ดอกบัวขาว-บัวแดง ดอกมะลิ ดอกรัก ดอกแอสเตอร์ ดอกลิลลี่ ดอกเบญจมาศ ดอกทิวลิป ดอกจิปโซ นอกจากดอกไม้แล้วใบก็นิยมนำมาขายกันค่ะ เช่น ใบมอนสเตร่า ใบเฟิร์น ใบเตยลาย ใบตอง เป็นต้นค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.tawanaok.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/125-%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94.html
หลักทั่วไปในการจัดแจกันดอกไม้
1. หน้าที่และประโยชน์ใช้สอย ก่อนจัดควรจะทราบวัตถุประสงค์ใน
การจัดตกแต่งก่อนว่า จะใช้ในงานอะไร และจะจัดวางที่ไหน เช่น
วางกลางโต๊ะ วางมุมโต๊ะ ชิดผลัก หรือแจกันติดผนัง เป็นต้น และ
ควรดูด้วยว่า ลักษณะของห้องที่จะจัดวางเป็นห้องลักษณะแบบใด
ทรงใด และขนาดเล็ก ปานกลางหรือใหญ่ เพื่อเราจะได้เลือกแจกัน
และดอกไม้ที่เหมาะสมกับห้องนั้น ๆ ด้วย
2. สัดส่วน สัดส่วนเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่จะกำหนดว่าแจกันที่
จัดเสร็จจะสวยหรือไม่สวย ถ้าสัดส่วนไม่สมดุลย์แจกันที่จัดออกมาก็
ไม่สวย สิ่งที่ต้องคำนึง
2.1 ภาชนะทรงเตี้ย ความสูงที่จัดควรเป็น 1.5-2 เท่า ของ
ความกว้างของภาชนะ
2.2 ภาชนะทรงสูง ความสูงที่จัดควรเป็น 1.5-2 เท่า ของ
ความสูงของภาชนะ
3. การเทียบส่วน ระหว่างดอกไม้กับแจกัน, แจกันกับขนาดของห้อง
4. ความสมดุลย์ เป็นความถ่วงดุล เช่น ซ้ายขวาเท่ากัน หรือ
สองข้างไม่เท่ากันแต่หนักไปทางใดทางหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
วัตถุประสงค์ของผู้จัด
5. การเลือกสี เส้นและขนาดให้แตกต่าง กัน เช่น สีกลาง
อ่อน เส้นที่โค้งเรียว ขนาดดอกมีใหญ่เล็กเป็นต้น
6. ความกลมกลืน คือ การเข้ากันอย่างสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ
7. ความแตกต่าง เช่น สีของดอก ใบ และภาชนะที่มีสีแตก
ต่างกัน แต่ความแตกต่างไม่ควรเกิน 20%
8. การสร้างจุดเด่น คือ จัดให้มีตัวเด่น ตัวรอง และให้มีการส่งเสริมกันและกัน
ขอขอบคุณข้อมูล
จาก http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowle
dge/13141-00/
ดอกไม้ที่นิยมใช้
1. เลือกดอกไม้ตามวัตถุประสงค์สำหรับงานนั้น ๆ
2. ความทนทานของดอกไม้ประดิษฐ์
3. ขนาด เลือกให้เหมาะกับภาชนะ สถานที่ตั้ง และแบบของ
การจัด
4. การเลือกสี ต้องดูฉากด้านหลังและจุดประสงค์ว่าต้องการ
กลมกลืน หรือตัดกัน
5. ความนิยม เช่นดอกกุหลาบนิยมใช้ในงานมงคล ดอกบัวใช้บูชาพระ
สิ่งควรคำนึงในการจัด ดอกไม้
1. สัดส่วน ควรให้ความสูงของดอกไม้พอดีกับแจกันเช่น แจกันทรงสูง ดอกไม้ดอกแรกควรสูง เท่ากับ 1.5 - 2 เท่าของความสูงของแจกัน สำหรับแจกันทรงเตี้ยดอกไม้ดอกแรกควรสูง เท่ากับ 1.5 - 2 เท่าของความกว้างของแจกัน
2. ความสมดุยลควรจัดให้มีความสมดุลไม่หนักหรือเอียงข้างใดข้างหนึ่ง
3. ความกลมกลืน เป็นหัวใจของการจัดต้องมีความสัมพันธ์ทุกด้านตั้งแต่ขนาดของแจกัน ความเล็กและใหญ่ของดอกไม้ ความมากน้อยของใบที่นำมาประกอบ
4. ความแตกต่าง เป็นการจัดที่ทำให้สวยงามสะดุดตา เช่นจัดดอกไม้เล็ก ๆ และมีดอกใหญ่เด่นขึ้นมา
5. ช่วงจังหวะ ช่วยให้ดอกไม้มีชีวิตมากขึ้น ควรไล่ขนาด ดอกตูม ดอกแย้ม จนถึงดอกบาน
6. การเทียบส่วน เป็นความสัมพันธ์กับส่วนต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ดอกเล็กควรใส่แจกันใบเล็ก ตลอดจนที่รองแจกันมีขาดเล็กด้
รูปแบบการจัดดอกไม้
รูปแบบการจัดดอกไม้
การจัดดอกไม้โดยทั่ว ๆ ไปแบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
1. การจัดดอกไม้เลียนแบบธรรมชาติ ( เพื่อใช้เอง) เป็นการ
จัดดอกไม้แบบง่าย ๆ เพื่อประดับตกแต่งบ้าน โดยอาศัยความเจริญ
เติบโตของต้นไม้ ดอกไม้ กิ่งไม้ นำมาจัดลงภาชนะ โดยใช้กิ่งไม้
ขนาดต่าง ๆ 3 กิ่ง การจัดดอกไม้แบบนี้ นิยมนำหลักการจัดดอกไม้
จากประเทศญี่ปุ่นมาประยุกต์
2. การจัดดอกไม้แบบสากล นิยมจัด 7 รูปแบบ คือ รูปทรง
แนวดิ่ง ทรงกลม ทรงสามเหลี่ยมมุมฉากทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า
ทรงพระจันทร์คว่ำ ทรงพระจันทร์เสี้ยว ทรงตัวเอส
3. การจัดดอกไม้แบบสมันใหม่ เป็นการจัดดอกไม้ที่มีรูปแบบ
อิสระ เน้นความหมายของรูปแบบบางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้ดอกไม้แต่
อาจใช้วัสดุหรือภาชนะเป็นจุดเด่นเป็นการสร้างความรู้สึกให้ผู้พบเห็น
การจัดดอกไม้แบบนี้ยังอาศัยหลักเกณฑ์ สัดส่วนและความสมดุล
ด้วย
การเตรียมดอกไม้ก่อนจัด
1. ดอกไม้ ใบไม้ ที่ซื้อมาจากตลาดต้องนำมาพักไว้ในน้ำ
อย่างน้อย 45 นาที - 2 ชั่วโมง
2. นำดอกไม้มาลิดใบที่ไม่สวย เหี่ยว หรือไม่จำเป็นออกไป
3. ตัดก้านดอกไม้ใต้น้ำ หากก้านไม่แข็งให้ตัดตรง หากก้าน
แข็งให้ตัดเฉียงประมาณ 1 นิ้ว
4. แช่ดอกไม้พักไว้ในน้ำมาก ๆ
5. ดอกไม้ที่ซื้อมาค้างคืนให้ห่อด้วยใบตองหรือกระดาษ นำ
ไปแช่ไว้ในถังน้ำ เพื่อไม่ให้ดอกบานเร็ว
หลักการจัดดอกไม้
สิ่งที่ต้องเตรียม
1. ภาชนะสำหรับจัด หมายถึง ภาชนะสำหรับรองรับดอกไม้มี
หลายชนิด เช่น แจกันรูปทรงต่าง ๆ เช่น กระบุง ตะกร้า ชะลอม
2. ที่สำหรับรองภาชนะ เมื่อจัดดอกไม้เสร็จควรมีสิ่งรองรับเพื่อ
ความสวยงาม ความโดดเด่นของแจกัน เช่นไม้ไผ่ขัดหรือสานเป็น
แพ กระจก แป้นไม้
3. กรรไกรสำหรับตัดแต่ง
4. เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ลวด ทราย ดินน้ำมัน กระดาษสี ฟล
อร่าเทปสีเขียว ก้านมะพร้าว ลวดเบอร์ 24 และ เบอร์ 30
5. ดอกไม้ประดิษฐ์พร้อมใบไม้สำเร็จ
6. เครื่องประกอบตกแต่ง เช่น กิ่งไม้ ขอนไม้ ตุ๊กตา ขดลวด เป็นต้น
การจัดดอกไม้สดขั้นพื้นฐาน
การจัดดอกไม้ ถือเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องอาศัยทักษะ
ประสบการณ์ เพราะจะต้องใช้ดอกไม้ที่แตกต่างกันในหลากหลายสี
การไล่โทน การนำเอาดอกไม้หรือใบไม้ ตลอดจนวัสดุต่าง ๆ มาจัด
ให้อยู่ในองค์ประกอบทางศิลปะ ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กัน และทำให้
เกิดมุมมองที่สวยงาม นับได้ว่าเป็นศิลปะและวิวัฒนาการที่สืบทอด
กันมาช้านาน การจัดดอกไม้โดยส่วนใหญ่นิยมจัดเลียนแบบดอกไม้
สดธรรมชาติ
ประสบการณ์ เพราะจะต้องใช้ดอกไม้ที่แตกต่างกันในหลากหลายสี
การไล่โทน การนำเอาดอกไม้หรือใบไม้ ตลอดจนวัสดุต่าง ๆ มาจัด
ให้อยู่ในองค์ประกอบทางศิลปะ ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กัน และทำให้
เกิดมุมมองที่สวยงาม นับได้ว่าเป็นศิลปะและวิวัฒนาการที่สืบทอด
กันมาช้านาน การจัดดอกไม้โดยส่วนใหญ่นิยมจัดเลียนแบบดอกไม้
สดธรรมชาติ
ประวัติความเป็นมาของการจัดดอกไม้
เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาค้นคว้าหาข้ออ้างอิง เพื่อใช้ประกอบเป็นหลักฐานทางด้านประวัติผู้ประดิษฐ์คิดนำดอกไม้สด มาใช้ในพิธีเป็นครั้งแรกหรือบุคคลแรก เพื่อไว้เป็นหลักฐานเรื่องราวให้ชนรุ่นหลัง ได้ทราบประวัติความเป็นมารวมทั้งข้อสันนิษฐานว่าบรรพบุรุษได้นำดอกไม้ ที่มีความสวยงามตามธรรมชาติมาใช้อย่างเป็นพิธีการ เช่น นำมาจัดบูชาพระรัตนตรัย นำมาจัดประดับตกแต่งสถานที่ในงานทั่วไปและในพิธีสำคัญ เพื่อให้มีความสดชื่นสวยงาม หรูหราและตื่นตา และเป็นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยสีสันหลากหลายของดอกไม้ และได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้
ตามหลักฐานที่ได้ศึกษาค้นคว้า ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระนิพนธ์ไว้ เมื่อปีชวด พ.ศ.2431 ได้ทรงบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย ได้กล่าว ถึงนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ได้ตกแต่งโคมลอย เพื่อใช้ในพิธีสิบสองเดือนและพระราชพิธีการลอยพระประทีป ซึ่งได้ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้สด ผลไม้แกะสลัก มาประดับตกแต่งโคมลอยให้มีความสวยงามยิ่งและได้ทรงกล่าวไว้ว่า ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งเป็นพระสนมเอกแต่ครั้งพระเจ้าอรุณมหาราช คือ พระร่วงเจ้าเป็นพระเจ้าแผ่นดินสยามตั้งแต่อยู่ ณ เมืองสุโขทัย ในพระราชนิพนธ์ได้กล่าวว่า นางนพมาศได้เข้ารับราชการได้คิดอ่านทำกระทงดอกไม้พระเจ้าแผ่นดิน ประดิษฐ์เป็นรูปดอกบัว
จากหลักฐานอ้างอิงได้กล่าวมา น่าจะเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า นางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นสตรีไทยท่านแรกที่เป็นผู้ริเริ่มนำเอาดอกไม้สดมาใช้ในพิธีการตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นครั้งแรก และได้สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้
ในสมัยรัตนโกสินทร์เริ่มต้นรัชกาลสืบมา งานฝีมือด้านประดิษฐ์ดอกไม้สดเป็นที่ยอมรับในฝีมือและมีชื่อเสียงมาก เป็นที่นิยมประดิษฐ์ จัดดอกไม้สดในงานต่างๆ ทั่วไป โดยเฉพาะในพระราชพิธีต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 5ทรงมีพระราชนิยมการทำดอกไม้มากมาย จัดดอกไม้มากมาย จัดถวายให้ทรงใช้ในงานนั้นๆ เสมอ พระมเหสีเทวีทุกตำหนัก ใฝ่พระทัยในการจัดดอกไม้ไปตามๆกัน แต่ละพระองค์ต่างก็มีชื่อเสียงในด้านต่างๆ ตามๆกัน สมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถ (พระพันปีหลวง) ครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระบรมราชินีนาถ ได้โปรดเกล้าฯให้ฝึกอบรมข้าหลวงและครูโรงเรียนราชินีให้รู้จักทำดอกไม้แห้งแทนดอกไม้สดด้วย ทรงส่งเสริมฟื้นฟูการทำดอกไม้เป็นอันมาก พระองค์เองก็ใช้เวลาว่างประดิษฐ์ดัดแปลงการทำดอกไม้แบบเก่าๆ ให้แปลกพิสดารไปอีกมีพระนามเลื่องลือในการร้อยมาลัยมะลิเป็นมาลัยสีขาวกลม ซึ่งเป็นมาลัยธรรมดาไม่มีลวดลายและต่อมาได้พลิกแพลงมาเป็นมาลัยสลับสีเป็นมาลัยเกลียว ซึ่งมีความสวยงามและเป็นลวดลายสีสันขึ้น
วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ตุ่มรับรส
มีลักษณะกลมรี ประกอบด้วยเซลล์รูปทรงกระสวย และปลายเส้น
ประสาทที่รับรู้รส สามเส้น
ตุ่มรับรสส่วนใหญ่ พบที่ด้านหน้าและด้านข้างของลิ้นส่วนบนต่อม
ทอนซิล เพดานปากและหลอดคอพบเป็นส่วนน้อย จากการทดลอง
แล้วปรากฏว่า ตุ่มรับรสมีอย่างน้อยที่สุด ประมาณ 4 ชนิดด้วยกัน ซึ่ง
จะคอยรับรสแต่ละอย่าง คือ
1. รสหวาน
2. รสเค็ม
3. รสขม
4. รสเปรี้ยว
ตุ่มรับรสเหล่านี้อยู่ตามบริเวณต่าง ๆ บนลิ้น ( ดังภาพ ) เซลล์รับ
รสในตุ่มรับรส เมื่อได้รับ
การกระตุ้นจะส่งกระแสประสาทไปตามเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ไปยัง
ศูนย์กลางรับรสในเซรีบรัมเพื่อแปลความหมายว่าเป็นรสอะไร
ลิ้นและการรับรส
ลิ้นและการรับรส
ลิ้นเป็นอวัยวะในช่องปาก ช่วยคลุกเคล้าอาหารและรับความรู้สึกเกี่ยว
กับรสชาติของอาหารการที่ลิ้นสามารถรับรู้รสชาติของอาหาร
ได้ เพราะมีอวัยวะในการรับรู้รส ที่เรียกว่า ตุ่มรับรส
( taste buds ) อยู่บนลิ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)